วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 8 ความเป็นพลเมืองโลก


การศึกษาช่วยพัฒนาประชาคมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ได้อย่างไร
การจัดการเรียนเรียนรู้วิชาพลโลก 
                        หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ทำไม ทำอย่างไร จึงจะนำนักเรียน สู่ความเป็นพลโลก
                         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 255   ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum Development for Future Global Citizens Conference)  ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ British Council  จัดขึ้นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้หลักการ แนวคิด ไว้ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลักสูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
มิสโมอิรา     แมคเคอราเชอร์     ผอ.ฝ่ายการศึกษk ระหว่างประเทศ องค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์   
-          การสร้างเด็กให้มีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน  รู้จักออกแบบการเรียนการสอน และประเมินวัดผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็ก
ดร.ซูฮ์   สวีนี     ผู้จัดการฝ่ายหลักสูตรการศึกษาวิทยาลัยอายร์  สก๊อตแลนด์
-          การสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นครูมีบทบาทสำคัญที่สุดรวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบอาชีพด้านต่างๆเช่น นักวิทยาศาสตร์มาช่วยครูให้ความรู้เด็ก
รศ.สุชาดา   นิมมานนิตย์     กรรมการบริหารสถาบันภาษา                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
-          เด็กไทยยังมีจุดอ่อนด้านคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และไม่แบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ  ซึ่งครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและพัฒนาเด็ก
คุณหญิงกษมา  วรวรรณ    อยุธยา   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-          เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี2551 นั้นสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกได้อย่างดี   เร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะลงนามความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ช่วยนำความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนทั้ง  8 กลุ่มสาระมาลงในเวบไซต์ สพฐ.  เพื่อให้ความรู้แก่ครูและเด็กจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนพ.ค.นี้
 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด  
                  - กระทรวงศึกษาธิการนับเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ประชาชนมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์ของตนและของโลก โดยมุ่งเน้นบุคลากรบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณภาพเหล่านี้ต่อพลเมืองโลกในอนาคต 
                 - การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาพลเมืองโลกจะส่งเสริมให้มีการประสานงานให้เกิดความเท่าเทียมกันและเกิดการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการจะได้จัดหาโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต

                    การประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคตจัดขึ้นเพื่อสร้างทักษะความจำเป็นในการเป็นพลเมืองโลก โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพลเมืองโลก โดยได้เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา Inter – Faith โดยเชื่อมโยงแนวความคิดเรื่องโอกาสที่เท่าเทียมกัน 

           สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  
สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก


 โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

บทที่ 7 ความหลากหลายของประชากรโลก

ความหลากหลายของประชากรโลก
เมื่อประชากรโลกเหยียบ 7,000 ล้านคน : สภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร
 จากที่จั่วหัวไว้ที่หัวเรื่อง การคาดการณ์ประชากรโลกในปี 2011 ของสมาคมประชากรโลกที่ หนังสือวารสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค ฉบับเดือนมกราคม 2554 นำมาลงหน้าปก เป็นการเตือนว่าในปีนี้ ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 7,000 ล้านคน ที่หลายประเทศจะต้องไม่ละเลย และเตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งไม่กี่ปีมานี้เราพูดถึงประชากรโลกที่ 6,000 ล้านคน ทำให้ต้องแก่งแย่งทรัพยากรกันมหาศาล
แต่ในขณะที่ปีนี้ประชากรโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะที่ผ่านมาปัญหาของประชากรยังไม่ดูรุนแรงเท่ากับปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง หรือปัญหาโลกร้อนที่กล่าวถึงกันในปัจจุบัน ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ประชากรเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ในบางประเทศที่มีผู้สูงอายุปริมาณมากขึ้นต้องเป็นภาระที่รัฐบาลในหลายประเทศประสบปัญหาในการให้บริการทางสุขภาพ ความเป็นอยู่ของประชากรสูงวัยเหล่านั้นด้วยต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาลในการดูแลเป็นภาระของประชากรวัยทำงานที่ต้องแบกภาระอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตามความต้องการอาหาร ทรัพยากรที่มีมากขึ้น กระทบต่อสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมของโลกใบนี้อย่างมาก ตั้งแต่ทรัพยากรที่ดินแหล่งเพาะปลูก ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชพรรณธรรมชาติต่างถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทรัพยากร ของประชากรโลก มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเมืองจึงไม่เพียงแต่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังมีการขยายเมืองในพื้นที่รอบนอกอย่างมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่สัตว์ป่าพืชพรรณตามธรรมชาติจะสูญพันธุ์เร็วขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์
จากสภาพที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ที่กล่าวมาแล้วผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมหาศาล ในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านั้น ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ไม่น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าน้ำท่วม ภาวะความแห้งแล้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรง หรือความถี่มากขึ้น นอกจากนี้ขอบเขตของผลกระทบที่เกิดขึ้น จากความสามารถของธรรมชาติที่เคยฟื้นสภาพอย่างรวดเร็ว กับดูเหมือนว่าโลกใบนี้เริ่มล้า และอ่อนแรง การฟื้นฟูสภาพกลับมาดังเดิมดูจะเป็นเรื่องยาก อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำในทะเลจนเกิดปะการังฟอกขาว ที่พยายามจะพื้นฟูโดยเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
การบริโภคทรัพยากรต่างๆ ของมนุษย์ ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก มีความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพหลายชนิดที่ส่งผลกระทบกลับมายังระบบนิเวศ เช่น ความต้องการพลังงาน ใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงปริมาณมากๆ และเกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกลับมาที่พืชพรรณในพื้นที่ได้รับฝนกรดจากการสะสมตัวของไอกรดจากการผลิตพลังงานในพื้นที่
จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว บนโลกใบนี้จนยากจะฟื้นฟูกลับมาดังเดิม ทำให้มนุษย์ชาติ ต้องปรับตัว บทความนี้จึงอยากจะเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศได้พิจารณา ดังนี้
1. แนวคิดเมืองช้า (slowly city) คือการใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันในเมืองที่เคยเร่งรีบตั้งแต่การกิน การนอน การทำงานให้ช้าลงไป จากการแข่งขัน แก่งแย่งกันในเรื่องต่างๆ ของชีวิต ลองหันกลับมาทบทวน และลดความเร็วในการใช้ชีวิตดูบ้าง ที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การกินโดยการเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น ละเอียดขึ้น การทำงานที่ใช้สติรอบคอบ การนอนที่เหมาะสมกับวัย การเดินทางที่หันมาเดินแทนการขับรถซิ่งตามท้องถนน สร้างกฎกติกาการดำเนินชีวิตอย่างช้าๆ บ้าง จะทำให้เราได้ตระหนักถึงความเป็นไปในการดำเนินชีวิตและความสวยงามของการใช้ชีวิตอย่างประณีตมากขึ้น ในเมือง slow city จริงๆ มีให้เห็นอยู่มากในเมืองชนบท เมืองเกษตรกรรมต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายและดั้งเดิม ดูจะเป็นวิถีแบบไทยๆ ที่น่าสัมผัส slow city จึงไม่ใช่เมืองฝันกลางวันแต่เป็นเมืองแห่งการมีสติ และมองรอบด้านด้วยการเห็นคุณค่าของเวลาและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ร่วมกัน ข้อเสนอแนวคิดนี้จึงน่าจะเป็นการเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ประเทศไทยได้เสนอเมืองลำพูน เป็นตัวอย่างเมืองslow city ที่เรียกว่าเมืองสบาย สบาย ซึ่งจะเป็นตัวอย่างเมืองอื่นๆ ที่มีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน
2. แนวคิด small is beautiful เป็นแนวคิดของนักเขียน ชูมัคเกอร์ ชาวเยอรมัน ที่นำเสนอการทำงานเล็กๆ ที่ให้ความเป็นตัวตนของเรา การขับเคลื่อนของธุรกิจที่มีความคล่องตัวกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

บทที่ 6ค่านิยมในสังคมโลก


ค่านิยม
                ความหมายของค่านิยมมีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
                ค่านิยม มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Value” และมาจากคำสองคำคือ ค่า” “นิยมเมื่อคำสองคำรวมกันแปลว่า การกำหนดคุณค่า คุณค่าที่เราต้องการทำให้เกิดคุณค่า คุณค่าดังกล่าวนี้มีทั้งคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม ซึ่งคุณค่าแท้เป็นคุณค่าที่สนองความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนคุณค่าเทียม หมายถึงคุณค่าที่สนองความต้องการอยากเสพสิ่งเปรนเปรอชั่วคู่ชั่วยาม
                ค่านิยม หมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ เช่น ชาวอเมริกันถือว่า “ประชาธิปไตยมีค่าสูงสุดควรแก่การนิยมควรรักษาไว้ด้วยชีวิต อเมริกันรักอิสระ เสรีภาพ และความก้าวหน้าในการงานเป็นต้น ส่วนค่านิยมของคนไทยหรือคนตะวันออกโดยทั่วไปนั้นแตกต่างจากค่านิยมในอเมริกันหรือคนตะวันตก เช่น คนไทยถือว่าความสงบสุขทางจิตใจและการทำบุญให้ทานเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา การเคารพเชื่อฟังบิดามารดาและการกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง
                ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง
                “ค่านิยมคือ ความคิด (Idea) ในสิ่งที่ควรจะเป็นหรือสิ่งที่ถูกต้องพึงปฏิบัติมีความสำคัญ และคนสนใจ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาจะได้ หรืจะเป็นและมีความสุขที่จะได้เป็นเจ้าของ
                “ค่านิยมหมายถึง ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี
                ค่านิยม หมายถึง ระบบความชอบพิเศษเพราะสิ่งที่เราชอบมาก เราจะให้คุณค่ามากกว่าสิ่งที่เราไม่ชอบ ค่านิยมอาจแบ่งเป็น  ประเภท ได้แก่
                ๑. ค่านิยมเฉพาะตัว (Individual Value)
                ๒. ค่านิยมสังคม (Social Value)
                ค่านิยมทางสังคม เป็นระบบความชอบพิเศษที่คนในแต่ละสังคมมีอยู่ ค่านิยมประเภทนี้เกิดจากการเรียนรู้จากสังคมในระดับต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม เช่น นาย ก ชอบสิ่งใดมากก็จะทำสิ่งนั้นมากเป็นต้น ดังนั้นการสังเกตค่านิยม ของสังคมอาจพิจารณาได้จากพฤติกรรมเด่น ๆ ของสมาชิกในสังคมแล้วอนุมานมานว่า สังคมนั้นมีค่านิยมอย่างไร เช่น ค่านิยมสังคมไทยที่เป็นค่านิยมดั้งเดิม คือ ยึดถือตัวบุคคล ความรักสนุก และยึดทางสายกลาง เป็นต้น
                ลักษณะของค่านิยมที่แท้นั้นจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
                ๑. เป็นค่านิยมที่บุคคลเลือกหรือยอมรับ โดยไม่ได้ถูกบังคับบุคคลมีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกหรือยอมรับค่านิยมใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมน่าปฏิบัติ
๒. เป็นค่านิยมที่บุคคลมีโอกาสเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัว ไม่ใช่เป็นเพราะมีตัวเลือกจำกัดเพียงสิ่งเดียว จึงทำให้ต้องยอมรับโดยปริยาย
๓. เป็นค่านิยมที่ได้รับการกลั่นกรองพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลตลอดจนมีการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของตัวเลือกหลายๆ ตัว เมื่อเห็นว่าตัวเลือกใดดีที่สุดเหมาะสมที่สุดหรือมีเหตุผลในการสร้างความพอใจได้มากที่สุดก็จะเลือกตัวเลือกนั้น
๔. เป็นค่านิยมที่บุคคลยกย่อง เทิดทูนและภูมิใจ
๕. เป็นค่านิยมที่บุคคลสามารถยอมรับอย่างเปิดเผยและพร้อมที่จะสนับสนุนค่านิยมที่ตนยอมรับ
๖. เป็นค่านิยมที่บุคคลยึดถือปฏิบัติจริงไม่ใช่เพียงคำพุดเท่านั้น
๗. เป็นค่านิยมที่บุคคลปฏิบัติอยู่เสมอๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว
                จากลักษณะข้างต้นอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมที่แท้นั้นเป็นค่านิยมที่ผ่านการเลือกมาอย่างดีและเมื่อเลือกแล้วก็ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยความมั่นใจความภูมิใจ
                จากคำนิยามต่าง ๆ เหล่านี้พอจะสรุปได้ว่าค่านิยมนั้น เป็นความคิดหรือความเชื่อที่บุคคลพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่า จึงนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน

            อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
                รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง 

ค่านิยมสังคมเมือง




ค่านิยมสังคมชนบท


เชื่อในเรื่องเหตุและผล
ขึ้นอยู่กับเวลา
แข่งขันมาก
นิยมตะวันตก
5. ชอบจัดงานพิธี
ฟุ่มเฟือยหรูหรา
นิยมวัตถุ
ชอบทำอะไรเป็นทางการ
ยกย่องผู้มีอำนาจผู้มีตำแหน่ง
๑๐.วินัย
๑๑. ไม่รักของส่วนรวม
๑๒. พูดมากกว่าทำ
๑๓. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า
๑๔. เห็นแก่ตัวไม่เชื่อใจใคร






ยอมรับบุญรับกรรมไม่โต้แย้ง
ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
เชื่อถือโชคลาง
ชอบเสี่ยงโชค
นิยมเครื่องประดับ
นิยมคุณความดี
นิยมพิธีการและการทำบุญเกินกำลัง
ชอบเป็นฝ่ายรับมากกว่าฝ่ายรุก
ทำงานเป็นเล่น ทำเล่นเป็นงาน
๑๐. พึ่งพาอาศัยกัน
๑๑. มีความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
๑๒. รักญาติพี่น้อง
๑๓. มีความสันโดษ
๑๔. หวังความสุขชั่วหน้า

ตาราง  แสดงเรื่องค่านิยมของคนเมืองและคนชนบท
                ประเภทของค่านิยม
                ค่านิยมนั้นกล่าวกันโดยทั่วไปว่ามี ๒ ประเภท คือ ค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมของสังคม
                ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมส่วนบุคคลเป็นการตัดสินใจเลือกในสิ่งหรือสถานการณ์ที่ตนต้องการหรือพอใจนั้นถือว่าเป็นค่านิยม (Value) ของบุคคลนั้น เช่น นายแดง อยากเป็นคนขยันขันแข็งเอาการเอางาน นายแดงก็จะปฏิบัติตามตามพื้นฐานของความคิดของตนเอง เพราะฉะนั้น นายแดงจะมีค่านิยมของความขยันขันแข็งและแสดงความเป็นคนขยันออกมา
                ค่านิยมของสังคม ซึ่งนักวิชาการได้แสดงทัศนะไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ ค่านิยมของสังคม คือ การรวมค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม กล่าวคือ สมาชิกของสังคมส่วนใหญ่นิยมส่ง หรืออยากจะปฏิบัติตนในสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไร สิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็กลายเป็นค่านิยมของสังคม ของสังคมนั้น ขอยกตัวอย่าง เช่น ในสถานการณ์ที่ผัวเมียตบตีกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมอยากสอดรู้สอดเห็นถึงความเดือดร้อนของคนอื่นจึงได้ไปมุงดู การมุงดูก็เป็นค่านิยมของสังคมนั้น
                ค่านิยมของสังคม หมายถึง สิ่งที่ตนสนใจ สิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเห็นหรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง และมีความสุขจะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของ
                ค่านิยมของสังคม หมายถึงค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมกล่าวคือสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือควรแก่การปฏิบัติสิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็จะกลายเป็นค่านิยมของสังคมนั้น ๆ
                ค่านิยมออกเป็น 2 ระดับคือ
                ๑.  ค่านิยมในทางปฏิบัติ (Pragmatic values) เป็นหลักของศีลธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานที่ว่าตนในสังคมต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้นค่านิยมจึงประณาม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เช่น การคดโกง การทำร้ายกัน และยกย่องพฤติกรรมที่เป้นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความขยันขันแข็ง ความซื่อสัตย์
                ค่านิยมอุดมคติ (Ideal values) ซึ่งมีความลึกซึ่งกว่าค่านิยมในทางปฏิบัติ เช่นศาสนาคริสต์สอนว่าให้คนรักเพื่อนบ้านเหมือนกับรักตนเอง ซึ่งน้อยคนที่จะปฏิบัติตามได้ แต่ค่านิยมระดับนี้ก็มีความสำคัญในการทำให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง
                ความสำคัญของค่านิยม
                อาจกล่าวได้ว่าค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ ทำอะไรตามใจคือไทยแท้เพราะฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอนแต่ในทางกลับกัน ถ้าสังคมใดมีค่านิยมที่ไม่สนับสนุนความเจริญ เช่น ค่านิยมที่เชื่อเรื่องโชคชะตาก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่กระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เป็นต้น
                อิทธิพลของค่านิยมต่อตัวบุคคล
                ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือค่านิยมของสังคม จะมีอิทธิพลต่อตัวบุคคล ดังนี้ คือ
                ๑. ช่วยให้บุคคลตัดสินใจว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ดีหรือไม่ดี มีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าควรทำหรือไม่ควรทำ
                ๒. ช่วยให้บุคคลในการกำหนดท่าทีของตนต่อเหตุการณ์ที่ตนต้องเผชิญ
                ๓. ช่วยสร้างมาตรฐาน และแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
                ๔. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และเลือกกิจกรรม
ทางสังคม ซึ่งตนจะต้องเข้าไปร่วมด้วย
                ๕. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ
                ๖. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม ซึ่งบุคคลจะใช้ในการพิจารณา การกระทำของตนอย่างมีเหตุผล
                แง่คิดเกี่ยวกับค่านิยม
                ๑. โดยปกติแล้วบุคคลมักจะมีค่านิยมในเรื่องเดียวกันหรือสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละบุคคลมีความรู้ ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน แต่บุคคลก็อาจจะมีค่านิยมในบางเรื่องตรงกันได้ เรียกว่า ค่านิยมร่วม (shared values) ซึ่งส่วนมากมักได้มาจากอิทธิพลของศาสนา
                ๒. มนุษย์เรามักจะชอบคบหาสมาคมกับบุคคลที่ยืดถือค่านิยมอย่างเดียวกัน
                ๓. ค่านิยมบางอย่างได้กลายมาเป็นกฎหมายเช่น ค่านิยมในเรื่องเสรีภาพก่อให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล
                ๔. ค่านิยมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กล่าวคือ ค่านิยมบางอย่างอาจเสื่อม
ความนิยมไป หรืออาจมีค่านิยมใหม่บางอย่างเกิดขึ้นมา เช่น ค่านิยมของกุลสตรีไทย แบบผ้าพับไว้ ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นนิยมหญิงไทยที่มีลักษณะคล่องแคล่วว่องไวเหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
                ๕. ค่านิยมของคนและค่านิยมของสังคมจะกำหนดการตัดสินใจในการเลือกของบุคคล
                ๖. ค่านิยมบางอย่าง ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลด้วยกัน แต่ค่านิยมบางอย่างเป็นไปในทางตรงกันข้าม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะค่านิยมมีอิทธิพลต่อความประพฤติของบุคคลทั่วไป ถ้าเรายิ่งมีความรู้สึกว่าค่านิยมใดมีความสำคัญต่อเรามาก เราก็มักจะรู้สึกลำเอียงว่าค่านิยมนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นและคิดไปว่าค่านิยมที่ขัดแย้งกับของตนนั้นผิดและไม่ยอมรับ
                ๗. ค่านิยมของสังคม ไม่จำเป็นว่าต้องมีอยู่ในตัวบุคคลในสังคมนั้นทุกคนไป แต่อาจจะมีอยู่ในสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่เท่านั้น เช่น การยกย่องคนร่ำรวย หรือเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน เป็นต้น

บทที่5 การสร้างความเป็นธรรมในสังคมโลก


ปาฐกถาพิเศษ อมาตยา เซน กาลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
วันที่ 17 ธันวาคม   2553 " อมาตยา เซน "   ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2541   ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม" (Building social  justice to close the social GAP) ในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ.2553   ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้
 อมาตยา เซน   กล่าวว่า   ทุกวันนี้เชื่อว่าความยุติธรรมทางสังคมต้องเน้นไปที่คุณภาพชีวิตควบคู่กับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งตอนนี้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจถดถอยกว่าในอดีต   เพราะมีความไม่พอใจในเรื่องการกระจายอำนาจทางการเมืองอยู่บ้าง  อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และผมเองก็ชอบมากด้วย


เมื่อปี ค.ศ.1964  ผมได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก ไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างก้าวหน้า แต่ไทยยังมีช่องว่างทางสังคมที่ประชาชนยังไม่พอใจอยู่เยอะเหมือนกัน มีการวิจารณ์กันมากว่าในสังคมไทยมีทั้งผู้มีอำนาจและผู้ที่ไม่มีอำนาจ  ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจของคนไทยที่ไม่มีความรู้นั้นโดยพื้นฐานแล้วจะเกิดความระแวงขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจทางการเมืองมาตอบสนองความต้องการทุกอย่างไม่ได้   ความไม่พอใจระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับประชาชน ท้ายที่สุดเราก็ยังต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมความไม่พอใจยังมีอยู่ในสังคมไทย และอาจส่งผลกระทบไปถึงความรุนแรง
 ในการเสวนาหรือการพูดคุยกันนั้น รัฐบาลเองก็ต้องมีส่วนร่วมเพื่อหาช่องว่างทางสังคม หมายความว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันแก้ไข ผมมาเยี่ยมประเทศไทยบ่อยครั้ง  ปัญหาของไทยถือว่าเป็นปัญหาที่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญเหมือนกัน ความไม่พอใจมีอยู่ทั่วโลกนั้น ต้องคิดต่อไปว่าคนไทยต้องทำอย่างไร มีการใช้ประโยชน์ทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน
 กรณีของไทยไม่ได้โดดเด่นหรือแปลกไปจากประเทศอื่นเลย จะแปลกก็อยู่ที่ว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไข มีการที่ปล่อยให้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มก้อน แยกกันคิด ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหา แต่ก็คือช่องว่างทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่นกัน
  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นสถาบันที่ดีมาก ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม จำเป็นต้องให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุความยุติธรรม ช่องว่างอาจจะมีอยู่จริง ความไม่พอใจอาจเป็นความไม่พอใจแบบรุนแรง อย่างไรก็ตามต้องมีการประชุม มีการพูดคุยหารือกัน   เพราะสิ่งที่คนเห็นในประเทศว่าเกิดอะไรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ คนในสังคมก็แสดงความคิดเห็นออกมามากมาย ซึ่งสังคมต้องนำมาแก้ไขและมองเห็นช่องว่างทางสังคมว่าเป็นช่องว่างในเชิงภูมิภาคหรือเชิงพื้นที่ หรือแม้กระทั่งช่องว่างความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท เพราะแต่ละภูมิภาคประสบปัญหาไม่เหมือนกัน
   ปัญหาความแตกต่างด้านภูมิภาคเกิดขึ้นทั่วโลกควรช่วยกันแก้ไขปัญหา ส่วนช่องว่างที่เกิดขึ้นมานานก็คือ ช่องว่างเชิงชนชั้น ในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนจนกับคนรวย ซึ่งนำพาไปสู่ความไม่ลงรอยกันเหมือนประเทศอื่นๆในภูมิภาค นี่ถือเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขและคิดกันใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น
 ในเรื่องเพศวิถีนั้น ความแตกต่างระหว่างชายกับหญิงเกิดขึ้นสูง และยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ โอกาสทางสังคมมีน้อย เศรษฐกิจในหลายภาคส่วนไม่เกิด เสียงทางการเมือง  ขาดความสมดุล จนทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์มากในทางการเมือง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ มีช่องว่างหลายช่องทำให้ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์  จึงต้องมีการเข้ามาตรวจสอบตรงนี้จุดนี้ให้มาก
 ส่วนเรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่การแบ่งแยกของคนในชุมชน ความไม่เสมอภาคย่อมเกิดตามมา การดูแลคนกลุ่มน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ดูท้าทายดี ในประชาธิปไตยนั้นคนกลุ่มใหญ่จะต้องมีความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน ซึ่งก็ควรมีในประเทศไทยเช่นกัน ในการดูแลคนคนพิการ 6 ล้านคน จาก 6,000 ล้านคนทั่วโลก มีน้อยมาก ซึ่งมีผลต่อการหารายได้และการใช้ชีวิตของคนเหล่านั้นด้วย ซึ่งสังคมต้องพยายามให้ความช่วยเหลือคนพิการในส่วนนี้ เพื่อคนพิการจะได้ใช้แขนขาเทียมตามความต้องการ
 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญเราจำเป็นต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำว่ามีอะไรบ้างที่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในสังคม เมื่อความแตกแยกมารวมกันก็จะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และเชื่อว่า "ปัญหาสังคมไม่มีเพียงแค่นี้ ช่องว่างต่าง ๆ เป็นสิ่งที่นำไปสู่การแบ่งแยก และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือความแตกแยกหลายอย่างมารวมตัวกันก็จะกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของปัญหา"

บทที่4 สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก


สิทธิมนุษยชน

        สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
        สิทธิมนุษยชน หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ
        จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
        ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ

สิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

 กล่าวนำ

        ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ ในฐานะ ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยประเทศสมาชิกต่างมีเจตจำนงประการสำคัญว่า การคุ้มครองสิทธิ-มนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนสำคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพในประเทศสมาชิก ที่ร่วมองค์กรและสังคมระหว่างประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง, การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตลอดจนกติการะหว่างประเทศที่ว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น

 บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกับสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีสาระสำคัญเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ และ มาตรา ๒๐๐ บังคับไว้ในส่วนที่ ๘ ที่ว่าด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๑๑ ส่วนที่ ๒ ว่าด้วยองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๒๕๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
(๒) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(๓) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(๔) ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจาก ผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๕) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และ กฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๖) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
(๗) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
(๘) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
(๙) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

 สิทธิมนุษยชน คืออะไร

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๓๔ (๑) กำหนดบังคับไว้ให้ออกกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายมารองรับ เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ซึ่งมีประเด็นสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(๑) มาตรา ๓ ให้คำจำกัดความว่า สิทธิมนุษยชนหมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
        ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ เช่น คนเราทุกคนมีสิทธิได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๖)
        คนเราทุกคนเกิดมามีอิสระเสรี มีศักดิ์ศรี มีสิทธิเท่าเทียมกันหมดทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑)
        รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติรับรอง กำชับ และเรียกร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย อย่างชัดเจน ได้แก่
(๒) มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
(๓) มาตรา ๒๖ บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
(๔) มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

                    สิทธิมนุษยชนกับทหาร

        ทหารจำเป็นต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากกรณีเหตุการณ์ใช้กำลังเข้าระงับการชุมนุมระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๕ รับทราบรายงานของคณะกรรมการกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นชอบตามข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการ ฯ โดยมีมาตรการที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม คือ
        ข้อ ๓ รับไปดำเนินการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการแสดงออกอย่างเสรีในหลักสูตรการศึกษาทุกแขนง โดยเฉพาะการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในหลักสูตรวิชาทางทหาร ตำรวจ และนักปกครองระดับต่าง ๆ เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

ตามมาตรา ๒๕๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว มีคุณสมบัติดังนี้

        มาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ประธานคณะกรรมการ
๑. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
๒. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
๓. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
๔. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งของพรรคการเมือง
๕. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
๖. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
๗. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
๘. ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
๙. ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๑๐. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
๑๑. ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
๑๒. ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบ-ปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๓. ไม่เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง